Disable Preloader




พาไปชม พาโร ซอง ยืนมองพระตำหนักหลังใหม่แห่งภูฏาน

หลังจากเครื่องบินแตะรันเวย์สนามบินที่หวาดเสียวที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พวกเราก็นั่งรถผ่านป้อมปราการขนาดใหญ่แห่งเมืองพาโร (Paro) เพื่อไปทานอาหารกลางวันกัน ก่อนเดินทางต่อไปยังเมืองหลวงแห่งใหม่ "ทิมพู" (Timpu)

โดยเส้นทางการเดินทางจะเดินทางไปยังเมืองทิมพู และเมืองพูนาคา ก่อนจะเดินทางย้อนเส้นทางเดิมกลับมายังเมืองพาโร และท่องเที่ยวในเมืองนี้ก่อนเดินทางกลับ ซึ่งในทริปนี้ได้มีโอกาสไปเที่ยวป้อมปราการ (Dzong) หรือ "ซอง" ในแต่ละเมือง

จากเมืองทิมพู กลับมายังเมืองพาโร ผ่านใจกลางเมืองย่านการค้า เพื่อมารับประทานอาหารกลางวันกัน ในภาพจะมองเห็นกองหิน นั่นก็คือ "วงเวียน" นั่นเอง แม้เป็นเมืองเล็กๆ แต่ก็มีกฏหมายจราจรและต่างปฏิบัติตามกฏ

สำหรับอาหารตลอดทริปเที่ยวภูฏานนั้น อร่อยทานได้สบาย

ขอเก็บบันทึก "ภาพที่มีทุกบ้าน" ซึ่งภาพนี้พิเศษที่รวมกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์

ได้เวลาท่องเที่ยวกันต่อ ภาพระหว่างนั่งรถ จะมองเห็นต้นแอ๊ปเปิ้ลออกลูกเต็มต้น เป็นภาพปกติที่เห็นได้ตลอดทาง

มองเห็นแม่น้ำไหลผ่าน แต่จะไม่เห็นชาวบ้านตกปลา หรือจับปลาอย่างแน่นอน เพราะชาวภูฏานจะไม่รับประทานปลาจากแม่น้ำ

รถบัสของพวกเราแล่นไปอีกมุมของป้อมปราการ ซึ่งอีกไม่ไกลก็จะเดินทางถึงแล้ว ซึ่งเราจะเที่ยวยังป้อมที่อยู่ด้านบนนั้นก่อน ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ เก็บของสำคัญไว้หลากหลาย

เป็นทริปที่ไม่ได้งีบนอนตลอดเส้นทางนั่งรถทั้ง 4 วันเต็ม เพราะภาพตลอดข้างทาง ตื่นตาตื่นใจให้ได้เก็บภาพประทับใจไว้ จนยากที่จะวางกล้องจากมือ

น้ำใส ไหลเย็น เห็นตัวปลา

พวกเรามาถึงกันแล้ว ก็ได้เวลาเดินเที่ยวและบันทึกภาพประทับใจกันไว้

ไม่บ่อยครั้งนักที่ไปท่องเที่ยวแต่ละแห่ง แล้วจะไม่พบนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ

ดังนั้น จะถ่ายภาพมุมไหน ก็สบาย ไม่ต้องรอคิวบันทึกภาพ

ภาพเมืองพาโร จากมุมสูง ดูเหมือนเมืองในหุบเขา รายล้อมด้วยธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์

ถึงทางเดินเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์กันแล้ว ซึ่งไม่อนุญาตให้บันทึกภาพภายใน จึงฝากกล้องไว้กับไกด์ แต่ภายในมีประมาณ 5 ชั้น ซึ่งสะสมสิ่งต่างๆ หลากหลาย เช่น พระพุทธรูปต่างๆ งดงามมาก, ผ้าทังก้า (Thangka) ซึ่งเป็นภาพวาดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงบนผ้า, ทาคิน (Takin) ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติของภูฏาน รูปร่างหน้าตาคล้ายแพะ แต่มีขนยาวตัวโตเท่าวัว

และที่ต้องทึ่งมากๆ คือ สแตมป์ (Stamp) เพิ่งทราบว่าภูฏานมีสแตมป์หลากหลาย และสวยมากๆ รวมทั้งมีเทคโนโลยีในการพิมพ์สแตมป์ 3 มิติ ตั้งแต่สมัยที่ยานอพอลโลไปยังดวงจันทร์ ปี ค.ศ. 1968

ฝนที่ตกทางโน้น ... หนาวถึงคนทางนี้

มองเห็นฝนกำลังโปรยปราย ตามไล่หลังพวกเรามา ทำให้รีบเดินไปขึ้นรถ แต่อดไม่ได้ที่จะบันทึกภาพแบบนี้

ภาพธรรมชาติที่ยังสวยงาม ในบรรยากาศที่เย็นสบายในช่วงฤดูฝน แต่ตลอดการเดินทางเจอฝนบ้าง แต่ฝนตกเวลาที่เราอยู่บนรถ แต่พอถึงสถานที่ท่องเที่ยวฝนก็หยุด น่าอัศจรรย์จริงๆ

พบกันดอกไม้ชนิดนี้อีกแล้ว ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในภูฏาน

รถบัสเรามาใกล้ป้อมปราการ "พาโรซอง" (Para Dzong) หรือมีชื่อเป็นทางการว่า "รินปุงซอง" (Rinpung Dzong) สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1646

เดินเข้ามาภายใน ซึ่งมีบริเวณกว้างขวาง แต่คล้ายกับ "พูนาคาซอง" และ ป้อมปราการอื่นๆ ที่จะมีวัดอยู่ภายใน

รูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

ขอบันทึกภาพครอบครัวประทับใจกันหน่อย ... แช๊ะ!

ขอบันทึกภาพครอบครัวโรแมนติคกันหน่อย ... แช๊ะ!

มีความสงบเงียบ และมีมนต์เสน่ห์

จากมุมนี้ มองเห็นพิพิธภัณฑ์ที่เราเพิ่งเที่ยวกันมา

ภายในมีองค์พระพุทธรูปสวยงาม แต่ไม่อนุญาตให้บันทึกภาพ

ได้ยินเสียงนกจำนวนมาก จนต้องเงยมองดู

ซึ่งแน่นอนที่ทุกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และวัด จะต้องมี "กงล้อมนตรา" หรือ "กงล้ออธิษฐาน" เรียงยาวไปตลอดทางเดิน

รวมไปถึง พุทธศิลป์ที่งดงาม เหนือคำบรรยาย

ต้องขอบันทึกภาพประทับใจไว้ชื่นชม

แต่ไฮไลท์อีกจุดของป้อมปราการแห่งนี้ ต้องเดินทางที่มุมนี้

ลองซูมสุดๆ ไปยังสะพาน

มองเห็นเครื่องบินกำลังลดระดับลงสู่สนามบินพาโร

มองไปทางขวา จะเห็นแม่น้ำหลักที่พาดผ่านเมืองพาโร

แต่ภาพที่เห็นเบื้องหน้านั้น ก็คือ พระราชวังของกษัตริย์จิ๊กมี ซึ่งทรงประทับในพระตำหนักซึ่งเป็นอาคารหลายชั้น

มองเห็น พระตำหนักหลังใหม่ ที่กำลังก่อสร้างเพื่อให้ทันก่อนพระราชพิธีอภิเษกสมรสในเดือน ตุลาคม ปีที่แล้ว ซึ่งภาพนี้ถ่ายไว้ในเดือนสิงหาคม

บันทึกภาพจากมุมสวยๆ แบบนี้ ... แช๊ะ!

เก็บความงามจากธรรมชาติ และความสุขที่ได้เห็น

ได้เวลาเดินทางกลับไปยังโรงแรมที่พัก ซึ่งเย็นวันนี้จะมีการจัดปาร์ตี้และชมการแสดงรอบกองไฟ รวมทั้งร่วมร้องรำทำเพลงกับชาวภูฏานอย่างสนุกสนาน ประทับใจ

ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป แต่เก็บความประทับใจไว้

การเดินทางท่องเที่ยว เป็นการพักผ่อน เป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ เป็นประสบการณ์ เป็นการเสริมมิตรภาพให้ยิ่งเหนียวแน่น และเป็นการเติมพลังในการทำงานต่อไป

ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ที่ใกล้หรือไกล แต่อยากให้เราเปิดโอกาสตัวเราด้วยการท่องเที่ยวกันนะ

เอนทรี่อื่นๆ เกี่ยวกับภูฏาน