Disable Preloader




หนีตามรถจักรไอน้ำ บนเส้นทางประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ-อยุธยา

หลายปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสมายืนมองดูรถจักรไอน้ำขบวน 824 และ 850 ประมาณ 3 ครั้งโดยยังไม่มีโอกาสได้ขึ้นไปกับขบวนรถไฟนี้ซักที มาปีนี้จึงตกลงใจจะหนีตามไปเที่ยวด้วย ซึ่งจัดแจงซื้อตั๋วมา 10 ใบ ล่วงหน้ากว่าหนึ่งเดือน แล้วมาชวนเพื่อนๆ ที่ทำงานให้ไปท่องเที่ยวด้วยกันใน "วันแม่แห่งชาติ" 12 สิงหาคม ที่ผ่านมา

เดินทางมาถึงสถานีหัวลำโพงประมาณ 7 โมงเช้าก่อนเวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง และมาแวะดื่มกาแฟกับขนมที่สถานี ได้บรรยากาศไปท่องเที่ยวทางรถไฟ

รถไฟขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำ กรุงเทพฯ-อยุธยา ก็รอเราอยู่ที่ชานชาลาหมายเลข 5

ได้มีโอกาสชื่นชมรถจักรไอน้ำได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งมีหัวรถจักรถึง 2 หัวด้วยกันเชื่อมต่อกัน

ซึ่งหัวรถจักรที่จะนำพวกเราเดินทางไปยังอยุธยานั้น จะเป็นหัวรถจักรหมายเลข 824 (หัวรถจักรไอน้ำแปซิฟิก) ซึ่งผลิตโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Association of Railway Industry) ผลิตมาพร้อมๆ กันกับหัวรถจักรเลขที่ 821 ถึง 850 และนำออกวิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2492

และในเที่ยวขากลับจาก อยุธยา-กรุงเทพฯ จะใช้หัวรถจักรหมายเลข 850 นี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของ รฟท. ท่านนี้ได้บอกกับผมว่า "ปัจจุบันเหลือขบวนรถไฟแบบนี้เพียง 5 หัวรถจักรในเมืองไทย" ทำให้ยิ่งรู้สึกทึ่งและประทับใจในรถจักรไอน้ำประเภทนี้ ซึ่งเป็นความชื่นชอบส่วนตัว และเคยเขียนเอนทรีเกี่ยวกับรถจักรไอน้ำไว้หลายๆ ตอนผ่านมา

รอด้วย! ใกล้เวลา 8 นาฬิกาตรง ได้เวลาขึ้นรถแล้ว จึงหยิบตั๋วออกมาดูเลขที่ตู้โบกี้หมายเลข 3 และเลขที่นั่ง 53 ริมหน้าต่าง

ซึ่งเป็นตั๋วทั้งไปและกลับ

หลังจากรวมพลกันครบแล้วก็ขึ้นรถไฟประจำที่ เสียงวูดเริ่มดังเป็นระยะ เหมือนกำลังบอกว่า พวกเรากำลังจะออกเดินทางและรถจักรไอน้ำก็พร้อมแล้ว

เพื่อบันทึกความประทับใจตลอดการเดินทาง และรวมไปถึงการท่องเที่ยวในเมืองประวัติศาสตร์อย่างอยุธยา

หลังจากเคารพธงชาติเสร็จ รถจักรไอน้ำก็เริ่มเคลื่อนขบวนออกจากชานชาลา ผ่านบริเวณ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง "สถานีรถไฟหัวลำโพง" ... ในมุมที่คุณอาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อน" ซึ่งผมเคยเขียนไว้ในเอนทรี  ซึ่งกดเพื่อย้อนไปอ่านประวัติที่น่าสนใจได้ รวมทั้งอีกเอนทรีที่เป็นมุมที่สวยมากที่สุดมุมหนึ่งในการบันทึกภาพรถไฟขบวนนี้โดยดูได้จาก ชื่นชม "ขบวนรถจักรไอน้ำ" มรดกไทย ณ สถานีรถไฟหลวงจิตรลดา

เสียงหวีดของหวูดรถไฟ เรียกให้ใครต่อใครที่ได้ยินต้องหันมามองอย่างแน่นอน ซึ่งจำได้ว่าเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว ก็เคยยืนบันทึกภาพรถจักรไอน้ำขบวนนี้ แถวบริเวณนี้ลองย้อนไปอ่านได้จากเอนทรี จัดเดินขบวน "รถจักรไอน้ำ" เพื่อร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ "พระปิยมหาราช"

เพื่อนๆ เริ่มอินกับบรรยากาศรอบข้าง

บางแห่งดูเป็นยุโรป ราวกับกำลังเดินทางโดยรถไฟในยุโรป

รู้นะคิดอะไรอยู่

มองสีสันของโบกี้รถไฟ เก้าอี้ไม้ ดูเก่าแต่คลาสสิคดี

เปิดดู GPS นี้เราอยู่เชียงรากน้อยแล้วเหรอเนี่ย รถจักรไอน้ำก็แล่นได้เร็วเหมือนกัน ไม่ใช่รถไฟหวานเย็นอย่างที่คิด

พวกเราต่างสนุกสนานเฮฮากัน เดินไปถ่ายรูปมุมต่างๆ

แต่ละคนพกกล้องคนละตัว ถ่ายกันไป ถ่ายกันมา

มองไปนอกหน้าต่าง ก็เห็นฝูงนกจำนวนมาก พวกมันคงตกใจเพราะไม่ชินกับเสียงหวูดของรถจักรไอน้ำ

ไม่นานนักเราก็มาถึงสถานีบางปะอิน โดยรถจักรไอน้ำจอดพักถึง 20 นาที ให้ได้ลงมาเดินถ่ายรูปกัน

ทุกๆ คนก็สนุกตื่นเต้นที่ได้ใกล้ชิดม้าเหล็กขนาดนี้

เห็นถึงเทคโนโลยีที่ต้องบอกว่ายอดเยี่ยม ไม่เช่นนั้นมันคงไม่สามารถทำหน้าที่มาได้ถึง 60 ปี

ขอบันทึกภาพแบบขาว-ดำ ยิ่งดูคลาสสิค ลองเปรียบเทียบได้จากเอนทรี ร้อนนัก ไปพักร้อน : ตอนที่ 17 "ด้วยความบังเอิญ เผชิญหน้ารถจักรไอน้ำ 2455 Posen"ซึ่งได้ไปเจอรถจักรไอน้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อายุกว่า 102 ปี ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมันนี

ไม่นานนัก เราก็ต้องโบกมือลา และต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ รฟท. ทุกๆ ท่านที่ช่วยให้การเดินทางราบรื่น ปลอดภัย สะดวกสบาย และประทับใจในอัธยาศัยไมตรีที่มีให้กัน

เริ่มเคลื่อนตัวออกเดินทาง ... สถานีต่อไป "อยุธยา" ... Next Station "Ayutthaya"

มีฝูงนกบินมาทักทาย ดีใจที่ได้พบเห็นธรรมชาติสวยงามรอบข้าง

มาถึงแล้ว พร้อมเห็นคนโบกมือทักทาย เราก็ต่างโบกมือทักทายผู้คนมาตามข้างทางที่ผ่านมา

สร้างความประทับใจทั้งผู้โดยสาร และทุกคนที่อยู่ในบรรยากาศเดียวกัน ทั้งคนไทยด้วยกัน และชาวต่างชาติ

โบกี้นี้เป็นของเรา ตามสบายเลย ... แช๊ะ!

พวกเรายังมีภารกิจท่องเที่ยวอีกทั้งวัน ตามมาจะพาไปเที่ยวด้วยพาหนะคันนี้ "เจ้ากบเคโระ" ซึ่งตอนแรกก็ไม่เชื่อว่าจะสามารถพาพวกเรา 8 คน ไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ไว้มาติดตามในตอนต่อๆ ไป